ข้อต่อลม Air Fitting

ข้อต่อลม (Air Fitting)

ข้อต่อลมคืออะไร

ข้อต่อลม  (Pneumatic Fitting)  เป็นอุปกรณ์ Fitting  เพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบสายลมกับอุปกรณ์นิวเมติกส์แบบต่างๆ เช่น กระบอกลม ชุดกรองลมเพื่อควบคุมความดันและทิศทางการไหลของลม ซึ่ง ข้อต่อลม (Fittings) แต่ละแบบก็มีให้เลือกใช้งานที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของงานในแต่ละประเภท

อาจจำแนกชนิดของข้อต่อลม Fitting ได้หลายแบบ เช่น อาจจะแบ่งชนิดตามวัสดุและ แบ่งชนิดตามลักษณะการใช้งาน เช่น ข้อต่อลมพลาสติก ข้อต่อลมสวมเร็ว หรือข้อต่อลมโลหะ-ทองเหลือง ซึ่งข้อต่อสายลมนี้ ได้รับความนิยมมากในระบบ Pneumatic เนื่องจากมีราคาที่ถูก และใช้งานง่าย 

คุณสมบัติ ของข้อต่อลม หรือ Fittings ที่มีคุณภาพดี 
 
1)ทนต่อแรงดันได้ตามค่ากำหนดในการใช้งานทั่วไป
ข้อต่อลม หรือ Fittings ที่ดี  จะต้องทนแรงดันที่เกิดจากการนำไปใช้งานได้ ซึ่งแรงดันโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 4-6 bar ดังนั้น ข้อต่อลม หรือ Fittings ที่นำมาใช้ควรจะมีคุณสมบัติที่ทนแรงดัน ไม่ควรจะน้อยกว่า 7bar  และควรมีการป้องกันแรงดันสูงสุดไม่น้อยกว่า 10 bar เพื่อความปลอดภัย และป้องกันการเกิดความเสียหายของอุปกรณ์

2.)วัสดุที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วน ข้อต่อลม หรือ Fittings 
วัสดุที่นำมาผลิตชิ้นส่วนของข้อต่อลม ก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก  หากนำวัสดุที่ไม่เหมาะสมมาผลิตนอกจากไม่เป็นผลดีต่อการใช้งานแล้ว ยังจะทำให้มีอายุการใช้งานที่น้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น

3.) การใช้งานที่ง่าย และสะดวก

ข้อต่อลม หรือ Fittings (ฟิตติ้ง) ที่ดีนั้น ต้องเริ่มที่รูปแบบการใช้งาน ในส่วนของจุดล๊อค และเกลียว คือต้องต่อง่าย ล็อคแน่นหนา และถอดได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งานในทุกรูปแบบ

รูปแบบต่างๆ ของข้อต่อลม 
ซึ่งข้อต่อลมที่ใช้กันอยู่ในงานนิวเมติกส์ ที่เห็นกันทั่วไปตามงานต่างๆ สามารถแบ่งแยกประเภทได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ

1. ข้อต่อลม (Fittings) ที่ใช้สำหรับ "ต่อกับอุปกรณ์ลม" ลักษณะเป็นเกลียวที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ลม และอีกด้านจะใช้เชื่อมต่อกับสายลม โดยจะมีรูปแบบต่างๆ ให้เลือกใช้งาน ได้แก่ ข้อต่อตรง ข้อต่องอ ข้อต่อสามทาง และข้อต่อที่มีมากกว่าสามทาง
2. ข้อต่อลม (Fittings) ที่ใช้สำหรับ "ต่อกับสายลม" ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับสายลม โดยจะทำให้สายลมมีความยาวขึ้น ซึ่งจะมีตั้งแต่สองทางขึ้นไปเพื่อเพิ่มทิศทางลมให้กระจายไปได้หลายทาง เพื่อให้เหมาะสมกับงาน

   1.) ฟิตติ้งสำหรับต่อกับอุปกรณ์ลม (Thread Type One-Touch Fittings ) คือจะเป็นเกลียวอยู่ด้านหนึ่ง จะเป็นตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้ เพื่อขันติดตั้งกับตัวอุปกรณ์ลม อีกด้านหนึ่งก็ใช้สำหรับเสียบกับสายลม ซึ่งจะมีการต่อใช้งานได้หลายรูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับการใช้งานในแต่ละประเภท แบ่งได้เป็น
     1.1 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมแบบ 2 ทาง  ใช้กับงานที่ต้องต่อกับอุปกรณ์ลมโดยตรงในฝั่งที่เป็นเกลียว อีกฝั่งเสียบสายลม 1 ข้าง


- ข้อต่อลมเสียบสายลมแบบตรง หรือ "ข้อต่อตรง"

 

- ข้อต่อลม เสียบสายลมแบบงอ 90 องศา หรือที่เรียกว่า "ข้อต่องอ" ช่วยปรับเปลี่ยนทิศทางของสายลม

 

1.2 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมแบบ  3 ทาง  ใช้กับงานที่ต้องต่อกับอุปกรณ์ลมในฝั่งที่เป็นเกลียว อีกฝั่งเสียบสายลมแยกออกได้ 2 ข้าง เพื่อให้กระจายลมไปใช้งานพร้อมกันได้ทั้ง 2 ตำแหน่ง


- ข้อต่อลมเสียบสายลม  3 ทาง รูปตัว T (T Connector)

- ข้อต่อลมเสียบสายลม  3 ทาง รูปตัว Y  (Y Connector)

- ข้อต่อลมเสียบสายลม 3 ทาง แบบตัวเรียงต่อ (Branch Connector)

 1.3 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมหลายทาง  คือรูเสียบสายลม มีมากกว่า 3 ทางขึ้นไป ใช้กระจายสายลมไปหลายจุดอย่างทั่วถึง ให้เหมาะสมตามการใช้งาน
- ข้อต่อลมเสียบสายลมหลายทาง ซึ่งได้มีการออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ จะมีทั้งรูปแบบกากบาท (Cross Connector) และแบบตัวเรียงต่อ (Branch Connector)

2.) ฟิตติ้งสำหรับต่อกับสายลม (Tube-Tube Type One-Touch Fittings ) อธิบายได้ง่ายๆ คือหัวที่ใช้ต่อ จะเป็นหัวที่ใช้เสียบสายลมทั้ง 2 ด้าน เพื่อใช้ต่อสายเพิ่มความยาวของสายลม ใช้ลดขนาดของสายลม หรือเพิ่มช่องจ่ายลมให้มากขึ้น ในลักษณะของงานต่างๆ ที่อาจแตกต่างกันไป อาจจำแนกรูปแบบได้ดังนี้
     2.1 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลม 2 ด้าน 


- ข้อต่อลมเสียบสายลม 2 ด้าน สามารถแบ่งได้เป็น แบบต่อชน ( Union ) กับแบบต่อลดขนาด ( Reducer connector )
- แบบเสียบสาย 2 ด้าน แบบต่อตรง

- แบบเสียบสาย 2 ด้าน แบบข้องอ 90 องศา

2.2 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลม 3 ด้าน 


- เสียบสายลมแบบ 3 ด้าน มีทั้งแบบด้านที่เสียบสายลมเข้า-ออก (Union) เท่ากันทั้ง 3 ด้าน และแบบเสียบสายเข้า-ออก ไม่เท่ากัน (Different Union)

- แบบเสียบสาย 3 ด้าน แบบรูปตัว T  ( T Union )

- แบบเสียบสาย 3 ด้าน แบบรูปตัว Y  ( Y Union )

2.3 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมหลายทาง


- เสียบสายลมมากกว่า 3 ทางขึ้นไป โดยได้มีการออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ จะมีทั้งรูปแบบกากบาท (Cross Union) และแบบตัวเรียงต่อ (Branch Union)

 

สนใจสอบถามข้อมูล

บริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์ ซัพพลาย จำกัด

Tel: 02-0776505, 098-5847225
Email : sales@kingpowerintersupply.com 

Visitors: 90,201